วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

e-pedagogy : Problem-based Learning (วิธีการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน)




วิธีการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน   (Problem – based Learning)



ความหมาย ของ  PBL
                เมื่อดูจากรูปคำศัพท์  Problem – based Learning     Problem  แปลว่า ปัญหา   based  เแปลว่า  ฐาน  พื้นฐาน  Learning  แปลว่า การเรียนรู้    Problem – based  Learning  หรือ PBL  ก็คือ วิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่ง  ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ โดยการนำปัญหามาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้     การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL)  เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism ) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก  เป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้    เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา   รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษา ไปพร้อมกันด้วย     การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก

ลักษณะทั่วไปของ การเรียนรู้แบบ PBL (ยรรยง สินธุ์งาม. ๒๐๐๘)
             รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบ การใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ  PBL  พอจะกล่าวได้ดังนี้
 ๑. ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered learning)
 ๒. จัดกลุ่มผู้เรียนให้มีขนาดเล็ก (ประมาณ ๓ ๕  คน)
 ๓. ครูทำหน้าที่ เป็นผู้อำนวยความสะดวก(facilitator)   หรือผู้ให้คำแนะนำ  (guide)
 ๔. ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น (สิ่งเร้า)ให้เกิดการเรียนรู้
 ๕. ลักษณะของปัญหาที่นำมาใช้ ต้องมีลักษณะคลุมเครือ  ไม่ชัดเจน   มีวิธีแก้ไขปัญหาได้ อย่างหลากหลาย  อาจมี   
      คำตอบได้หลายคำตอบ          
 ๖. ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (self-directed learning)
 ๗. การประเมินผล ใช้การประเมินผลจากสถานการณ์จริง(authentic assessment)

วิธีการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มี ๖ ขั้นตอน  ( กมลวรรณ สายจุฑาวัฒน์,๒๐๐๗) ดังนี้

ขั้นที่ ๑   กำหนดปัญหา   จัดสถานการณ์ต่างๆกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ และมองเห็นปัญหา  สามารถกำหนด
               สิ่งที่เป็นปัญหาที่ผู้เรียนอยากรู้  อยากเรียนเกิดความสนใจที่จะค้นหาคำตอบ
ขั้นที่ ๒   ทำความเข้าใจกับปัญหา   ปัญหาที่ต้องการเรียนรู้  ต้องสามารถอธิบายสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาได้
ขั้นที่ ๓   ดำเนินการศึกษาค้นคว้า    นักเรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองด้วยวิธีการหลากหลาย   
ขั้นที่ ๔  สังเคราะห์ความรู้  นักเรียนนำความรู้ที่ได้ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ขั้นที่ ๕    สรุปและประเมินค่าหาคำตอบ  นักเรียนแต่ละกลุ่ม  สรุปผลงานของกลุ่มตนเอง  และประเมินผลงานว่าข้อมูล
                ที่ศึกษาค้นคว้ามีความเหมาะสม  หรือไม่เพียงใด  โดยพยายามตรวจสอบแนวคิดภายในกลุ่มของตนเองอย่าง
                อิสระ  ทุกกลุ่มช่วยกันสรุปองค์ความรู้  ในภาพรวมของปัญหาอีกครั้ง
ขั้นที่ ๖  นำเสนอและประเมินผลงาน    นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาจัดระบบองค์ความรู้  และนำเสนอเป็นผลงานในรูปแบบ
              ที่หลากหลาย  ผู้เรียนทุกกลุ่ม ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาร่วมกันประเมินผลงาน  

ลักษณะของปัญหาที่ใช้ในการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

          ๑.เกิดขึ้นในชีวิตจริงและเกิดจากประสบการณ์ของผู้เรียนหรือผู้เรียนอาจมีโอกาสเผชิญกับปัญหานั้น         
             ๒.เป็นปัญหาที่พบบ่อย มีความสำคัญ มีข้อมูลประกอบเพียงพอสำหรับการค้นคว้า
          ๓.เป็นปัญหาที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจนตายตัว เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน คลุมเครือ หรือผู้เรียนเกิดความสับสน
          ๔.ปัญหาที่เป็นประเด็นขัดแย้ง ข้อถกเถียงในสังคมยังไม่มีข้อยุติ
          ๕.เป็นปัญหาอยู่ในความสนใจ เป็นสิ่งที่อยากรู้แต่ไม่รู้
          ๖.ปัญหาที่สร้างความเดือดร้อน เสียหาย เกิดโทษภัยเป็นสิ่งที่ไม่ดีหากใช้ข้อมูลโดยลำพังคนเดียวอาจทำให้ตอบ
                  ปัญหาผิดพลาด
          ๗.เป็นปัญหาที่มีการยอมรับว่าจริง ถูกต้อง แต่ผู้เรียนไม่เชื่อจริง ไม่สอดคล้องกับความคิดของผู้เรียน
             ๘.ปัญหาที่อาจมีคำตอบหรือแนวทางในการแสวงหาคำตอบได้หลายทาง ครอลคลุมการเรียนรู้ที่กว้างขวาง
                 หลากหลายเนื้อหา
          ๙.เป็นปัญหาที่มีความยากความง่ายเหมาะสมกับพื้นฐานของผู้เรียน
           ๑๐.เป็นปัญหาที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ทันที ต้องการการสำรวจค้นคว้าและการรวบรวมข้อมูลหรือทดลองดูก่อน 
                  จึงจะได้คำตอบ  ไม่สามารถที่จะคาดเดาหรือทำนายได้ง่ายๆว่าต้องใช้ความรู้อะไร ยุทธวิธีในการสืบเสาะหา
                  ความรู้จะเป็นอย่างไรหรือคำตอบหรือผลของความรู้เป็นอย่างไร
           ๑๑.เป็นปัญหาส่งเสริมความรู้ด้านเนื้อหาทักษะ สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษา ปัญหาที่นำมาประกอบในการจัด
                  กระบวนการเรียนรู้ต้องเป็นปัญหาที่มีความเป็นปัจจุบันและอยู่ในความสนใจ ของสังคมที่ยังหาข้อยุติไม่ได้   
                  พบเจออยู่บ่อยครั้งในชีวิตประจำวันหรือเป็นเหตุการณ์ประสบการตรงจากผู้เรียนเอง โดยปัญหาที่สร้างขึ้นจะต้อง
                  สอดคล้องกับสภาพพื้นฐานของผู้เรียนและตัวหลักสูตรการศึกษา มีข้อมูลประกอบเพียงพอสำหรับการศึกษา
                  ค้นคว้า  นอกจากนี็ ยังต้องเป็นปัญหา ที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ทันที ต้องเกิดกระบวนการศึกษาค้นคว้า รวบรวม
                  ข้อมูลหรือการทดลอง  เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ

บทบาทของครูในชั้นเรียน PBL 
              ผู้สอนมีบทบาทโดยตรงต่อการจัดการเรียนรู้ดังนั้นลักษณะของผู้สอนที่เอื้อต่อการจัดการเรีนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 
ควรมีลักษณะดังนี้  (สมรัชนีกร  อ่องเอิบ และคณะ )
๑.ผู้สอนต้องมุ่งมั่นตั้งใจสูง รู้จักแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
๒.ผู้สอนต้องรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลเข้าใจศักยภาพของนักเรียนเพื่อสามารถให้คำแนะนำ ช่วยเหลือนักเรียนได้ทุกเมื่อ
    ทุกเวลา
๓.ผู้สอนต้องเข้าใจขั้นตอนของแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานอย่างถ่องแท้ชัดเจนทุกขั้นตอน  เพื่อจะได้
     แนะนำให้คำปรึกษาแก่นักเรียนได้ถูกต้อง
๔.ผู้สอนต้องมีทักษะและศักยภาพสูงในสังคมยังไม่มีข้อยุติ    
๕.ผู้สอนต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกด้วยการจัดหา สนับสนุนสื่อ อุปกรณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมเพียงพอ จัดเตรียม   
    ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต ฯลฯ
๖.ผู้สอนต้องมีจิตวิทยาสร้างแรงจูงใจแก่นักเรียน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการตื่นตัวในการเรียนรู้ตลอดเวลา
๗.ผู้สอนต้องชี้แจงและปรับทัศนะคติของนักเรียนให้เข้าใจและเห็นคุณค่าของการเรียนรู้แบบนี้
๘.ผู้สอนต้องมีความรู้ ความสามารถ ด้านการวัดและประเมินผลนักเรียนตามสภาพจริง ให้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ 
    ทักษะกระบวนการและเจตคติให้ครบทุกขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้


ข้อดีของการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก

1) ได้รับความรู้ในเนื้อหาวิชาที่เป็นการบูรณาการ และนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา
2) พัฒนาทักษะ ความสามารถในการแก้ปัญหา
3) พัฒนาทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4) พัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม
5) เพิ่มแรงจูงใจในการเรียน เนื่องจากผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

ข้อจำกัดของการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
1) เป็นการเรียนที่เหมาะสำหรับสายวิชาชีพซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ไม่สามารถนำมาใช้ได้กับทุกรายวิชา
2) ผู้สอนต้องมีทักษะในการเป็นผู้สอนประจำกลุ่ม
3) ผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองและให้ความร่วมมือในการเรียนร่วมกัน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://www.vcharkarn.com
comed5kku.wordpress.com
mblog.manager.co.th/titiya110   


เชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้วิธีสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน



                                                                         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น